สวัสดีครับวันนี้พาไปเที่ยวเข้าค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ มีคนบอกว่า" นอนเขาค้อหนึ่งคืน อายุยืนสิบปี" เห็นท่าจะจริง เพราะว่าอากาศที่เขาค้อดีมาก ไม่ร้อน ไม่หนาวจนเกินไป ถ้าเป็นฤดูหนาว ก็หนาวพอสมควร ตอนกลางคืนหนาวมาก แต่นอนสบายดี
ว่าแล้วก็พอไปชมพาหนะสุดเท่ห์ของวัยรุ่น แถว ๆ เพชรบูรณ์ เขาแต่งรถมอเตอร์ไซด์รุ่นเก่า แต่เก๋าเอามาก ๆ ก็เจ้า Honda C70 หลายท่านอาจได้เคยผ่านการใช้มาแล้ว เห็นแล้วต้องร้องอ๋อ แต่หลาย ๆ คนอาจจะลืมกันไปแล้ว สำหรับเจ้า Honda C70 นี่แหละแถว ๆ เขาค้อ เพชรบูรณ์นิยมเที่ยวกัน เพราะขึ้นเขาดีมาก เพราะเป็นเครื่องยนต์แบบ 4 จังหวะ เพราะ Honda เขานิยมเครื่อง 4 จังหวะเป็นสำคัญเมื่อก่อนนี้ เพราะแรงดีไม่มีตก หลายคนคงรู้จักดีสำหรับเครื่องยนต์ 4 จังหวะ ประหยัดน้ำมัน แรงอัดดี สามารถขึ้นเนิน ขึ้นเขาได้ดี จึงเป็นที่นิยมในต่างจังหวัด เพราะเหมาะกับภูมิประเทศ
วันอังคารที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2551
วันอาทิตย์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2551
Car Free Day
สวัสดีครับพี่น้อง วันนี้เป็นวันหยุดสุดสัปดาห์มีโปรแกรมไปไหนกันบ้างหรือเปล่าครับ ถ้าหากยังไม่มีโปรแกรมจะไปไหนก็ไปร่วมงาน Car Free Day เขาจัดกันทั่วประเทศน่ะครับ ตามต่างจังหวัดก็จะรวมตัวกัน ณ จุดรวมพลตามที่นัดหมายของแต่ละจังหวัด สำหรับกรุงเทพฯ นั้น ก็จะมีประมาณ 6 จุด หรือว่า 6 เส้นทาง ใกล้ไกล แล้วแต่จุดน่ะครับ
นับว่าเป็นโอกาสที่ดีทำให้ประเทศของเราที่จะหยุดการใช้รถยนต์สัก 1 วัน ก็ยังดีทำให้มีประโยชน์หลายประการด้วยกัน อย่างเช่น
๑. ประหยัดน้ำมัน ของแน่ ๆ ถ้าเราหยุดใช้รถสักวันหนึ่ง ก็ประหยัดหลายบาท อย่างน้อย ๆ ก็ประมาณ ๒๐๐ บาท แน่นอน
๒. ลดภาวะโลกร้อน แหมทันสมัยจริง กำลังนิยมจริง ๆ เลยตอนนี้
๓. ได้ออกกำลังกาย ตอนเช้า ๆ ของวันหยุด
๔. ได้เห็นสถานที่ต่าง ๆ ที่เราเคยผ่านไปแล้วในแต่ละวัน แต่ไม่ทันสังเกตุเพราะว่าต้องรีบไปทำงาน
๕. ทำให้ถนนหนทาง ว่างจากรถยนต์ ว่างจากมลพิษ ว่างจากฝุ่นละออง
๖. ทำให้ได้สร้างความสัมพันธ์ทางครอบครัวอีก หากว่าเราไปกันเป็นครอบครัว พ่อกัน แม่ ลูก ขึ่จักรยานไปคุยกันไป ได้อธิบายกับลูก ๆ ฟังว่าตึกนี้น่ะตึกอะไร สถานที่ราชการสำคัญอะไร ประมาณนั้น
๗. อาจได้แฟนตอนวันงาน Car Free Day นี่แหละมั้ง ว่าแล้วไปขี่จักรยานกับเขาดีกว่า
ขอเชิญร่วมงานมหกรรมจักรยานวันปลอดรถประจำปี 2008 ณ ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร สนามกีฬาไทย-ญี่ปุ่น(ดินแดง)วันอาทิตย์ที่ 21 กันยายน พ.ศ.2551 ร่วมขบวนจักรยานรณรงค์ 8 โมงล้อหมุนจาก 6 เส้นทางมุ่งสู่ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานครผนึกพลังจักรยานร่วมก่อร่างสร้างรูปแผนที่ประเทศไทยขนาด 95 เมตรและบันทึกภาพประทับใจกลางอากาศช่วงบ่ายพบกับนิทรรศการและการออกร้านจากหน่วยงานต่างๆ
นับว่าเป็นโอกาสที่ดีทำให้ประเทศของเราที่จะหยุดการใช้รถยนต์สัก 1 วัน ก็ยังดีทำให้มีประโยชน์หลายประการด้วยกัน อย่างเช่น
๑. ประหยัดน้ำมัน ของแน่ ๆ ถ้าเราหยุดใช้รถสักวันหนึ่ง ก็ประหยัดหลายบาท อย่างน้อย ๆ ก็ประมาณ ๒๐๐ บาท แน่นอน
๒. ลดภาวะโลกร้อน แหมทันสมัยจริง กำลังนิยมจริง ๆ เลยตอนนี้
๓. ได้ออกกำลังกาย ตอนเช้า ๆ ของวันหยุด
๔. ได้เห็นสถานที่ต่าง ๆ ที่เราเคยผ่านไปแล้วในแต่ละวัน แต่ไม่ทันสังเกตุเพราะว่าต้องรีบไปทำงาน
๕. ทำให้ถนนหนทาง ว่างจากรถยนต์ ว่างจากมลพิษ ว่างจากฝุ่นละออง
๖. ทำให้ได้สร้างความสัมพันธ์ทางครอบครัวอีก หากว่าเราไปกันเป็นครอบครัว พ่อกัน แม่ ลูก ขึ่จักรยานไปคุยกันไป ได้อธิบายกับลูก ๆ ฟังว่าตึกนี้น่ะตึกอะไร สถานที่ราชการสำคัญอะไร ประมาณนั้น
๗. อาจได้แฟนตอนวันงาน Car Free Day นี่แหละมั้ง ว่าแล้วไปขี่จักรยานกับเขาดีกว่า
ขอเชิญร่วมงานมหกรรมจักรยานวันปลอดรถประจำปี 2008 ณ ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร สนามกีฬาไทย-ญี่ปุ่น(ดินแดง)วันอาทิตย์ที่ 21 กันยายน พ.ศ.2551 ร่วมขบวนจักรยานรณรงค์ 8 โมงล้อหมุนจาก 6 เส้นทางมุ่งสู่ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานครผนึกพลังจักรยานร่วมก่อร่างสร้างรูปแผนที่ประเทศไทยขนาด 95 เมตรและบันทึกภาพประทับใจกลางอากาศช่วงบ่ายพบกับนิทรรศการและการออกร้านจากหน่วยงานต่างๆ
07.00 น. พบกัน ณ จุดนัดหมาย 6 เส้นทางรณรงค์
1. สยามพารากอน......................ระยะทาง 4.08 กิโลเมตร
1. สยามพารากอน......................ระยะทาง 4.08 กิโลเมตร
6. เดอะมอลล์ บางกะปิ.............ระยะทาง 15.69 กิโลเมตร
08.00 น. ร่วมร้องเพลงชาติพร้อมกัน เสร็จแล้วเคลื่อนขบวนตามเส้นทาง
08.00 น. ร่วมร้องเพลงชาติพร้อมกัน เสร็จแล้วเคลื่อนขบวนตามเส้นทาง
มุ่งหน้าสู่ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร
08.45น. ขบวนรณรงค์ทะยอยเข้าลานกิจกรรม ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร
08.45น. ขบวนรณรงค์ทะยอยเข้าลานกิจกรรม ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร
รับประทานอาหารเช้าและพักผ่อนตามอัธยาศัย
09.30 น. ลงทะเบียน รับของที่ระลึก ประตูทางเข้าสนาม ทิศเหนือ และทิศใต้
09.30 น. ลงทะเบียน รับของที่ระลึก ประตูทางเข้าสนาม ทิศเหนือ และทิศใต้
เพื่อจัดขบวนเข้าจัดรูปแผนที่ประเทศไทย สีรุ้ง 76 จังหวัด
ผู้ที่ไม่พร้อมเข้ายืนในสนาม
นำรถเข้าจอดรวมกันในพื้นที่ๆจัดให้ในสนามบริเวณหน้าปรัมพิธี
และร่วมชมได้บนอัฒจันทร์
- งดขี่จักรยานในลู่วิ่ง และสนามหญ้าเด็ดขาด
- เพื่อความสะดวกในการดูแลทรัพย์สิน
งดนำจักรยานออกจากสนามจนกว่าจะเสร็จพิธีการ
- งดสูบบุหรี่ และเสพเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ เด็ดขาด
12.00 น. เสร็จพิธี ขบวนจักรยานเคลื่อนออกจากสนาม
12.00 น. เสร็จพิธี ขบวนจักรยานเคลื่อนออกจากสนาม
ตั้งขบวนรณรงค์ใหญ่บนถนนมิตรไมตรี
บริเวณหน้าศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร
นำขบวนโดย 3 เสือรอบโลก
- และเหล่าอรหันต์สุดยอดตำนานเสือหมอบไทย
- เส้นทางรณรงค์ใหญ่สายรัชดาภิเษก ระยะทาง 15.50 กิโลเมตร
13.00 น. เสร็จขบวนรณรงค์ใหญ่ ร่วมรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 น. เสร็จขบวนรณรงค์ใหญ่ ร่วมรับประทานอาหารกลางวัน
ชมนิทรรศการและการออกร้านจากหน่วยงานต่างๆ
วันเสาร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2551
ปัญหาของ NGV และ LPG
สวัสดีครับผู้ใช้รถทุก ๆ ท่าน เป็นยังไงกันบ้างกับราคาน้ำมันที่ถูกลงมาหน่อยหนึ่ง เนื่องจากราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวอ่อนลงมา ทำให้ผู้ใช้รถยนต์ทุกคนดีใจหน่อย ถึงแม้ว่ารัฐบาลไทยจะปรับราคาน้ำมันลงไม่มาก แต่ก็ยังดีกว่าก่อนหน้านี้ที่ ปรับราคาน้ำมันขึ้นทุก ๆ ๆ ๆ ไม่มีทีท่าว่าจะปรับลดลง ทำให้เรา ๆ ท่าน ๆ หันไปหาพลังงานทางเลือก นั่นก็คือ NGV และ LPG นั่นเอง
ปัจจุบันการติดตั้ง NGV และ LPG ราคานั้นถูกลงมาจากเมื่อก่อนนี้พอสมควร แต่ผู้ใช้รถยนต์ก็ยังนิยมที่จะติดระบบก๊าซ NGV LPG ถึงแม้จะน้อยกว่าช่วงราคาน้ำมันที่สูงก็ตาม แต่หลาย ๆ คนก็ยังลังเลใจอยู่ว่าจะติดตั้งดีหรือไม่ อาจจะเกิดจากหลายสาเหตุด้วยกัน เช่น
1. ราคาการติดตั้งแพงเกินไป
2. เป็นห่วงสถานีบริการก๊าซ เมื่อเราจะออกไปต่างจังหวัด
3. คิดว่าราคาน้ำมันน่าจะปรับลงมาอีก จึงไม่แน่ใจว่าติดก๊าซไปแล้วจะเป็นยังไง ระหว่างราคาน้ำมันกับราคาก๊าซ NGV , LPG
4. เป็นห่วงเรื่องความปลอดภัย หากเกิดอุบัติเหตุแล้วจะเป็นยังไง จะระเบิดไหม
ครับนี่ก็เป็นเหตุผลหนึ่งที่เรา ๆ ท่าน ๆ ก็คิดเหมือนกันกับเรื่องนี้ แต่ขอให้คิดให้ดีปัญหาต่าง ๆ เหล่านั้นสามารถแก้ไขได้ หากเราพิจารณาดูให้ดี ๆ ว่าถ้าเราใช้รถยนต์ทุก ๆ วัน ในระยะทางที่ไกลพอสมควร และรถเมล์ หรือรถสาธารณะต่าง ๆ ไม่ถึง แล้วมาคิดค่าใช้จ่ายในแต่ละวันว่าน้ำมันที่เราใช้อยู่วันละเท่าไร หากราคาไม่มากในแต่ละวันก็ยังอาจจะไม่ต้องติดก๊าซ แต่ถ้าหากคำนวณแล้วในแต่ละวันเราใช้เงินในจำนวนมากต่อวัน ต่อเดือนเป็นเท่าไร หากดูแล้วว่าไม่ไหวแน่ ๆ ตัดสินใจเลยครับติดตั๊งก๊าซ NGV ได้เลย
ส่วนปัญหาอื่น ๆ เราก็สามารถแก้ไขได้ หากว่าเราห่วงเรื่องความปลอดภัย เราก็ไปหาศูนย์ติดตั้งก๊าซ NGV ที่มีคุณภาพ ผ่านการรับรองแล้ว ก็เบาใจได้ ก็ไม่ต้องกังวลเรื่องความปลอดภ้ย ไม่ต้องกลัวการระเบิดอีกต่อไป สำหรับเรื่องสถานีบริการเติมก๊าซ NGV เราก็ต้องศึกษาว่าเราจะไปที่ไหนอย่างไร ก็ต้องศึกษาเส้นทางให้ดี วางแผนก่อนเดินทางครับ เท่านี้เราก็ไม่ต้องกังวลแล้ว เดินทางถึงที่หมายปลอดภัย แถมสตางค์เราก็อยู่ครบ
ปัจจุบันการติดตั้ง NGV และ LPG ราคานั้นถูกลงมาจากเมื่อก่อนนี้พอสมควร แต่ผู้ใช้รถยนต์ก็ยังนิยมที่จะติดระบบก๊าซ NGV LPG ถึงแม้จะน้อยกว่าช่วงราคาน้ำมันที่สูงก็ตาม แต่หลาย ๆ คนก็ยังลังเลใจอยู่ว่าจะติดตั้งดีหรือไม่ อาจจะเกิดจากหลายสาเหตุด้วยกัน เช่น
1. ราคาการติดตั้งแพงเกินไป
2. เป็นห่วงสถานีบริการก๊าซ เมื่อเราจะออกไปต่างจังหวัด
3. คิดว่าราคาน้ำมันน่าจะปรับลงมาอีก จึงไม่แน่ใจว่าติดก๊าซไปแล้วจะเป็นยังไง ระหว่างราคาน้ำมันกับราคาก๊าซ NGV , LPG
4. เป็นห่วงเรื่องความปลอดภัย หากเกิดอุบัติเหตุแล้วจะเป็นยังไง จะระเบิดไหม
ครับนี่ก็เป็นเหตุผลหนึ่งที่เรา ๆ ท่าน ๆ ก็คิดเหมือนกันกับเรื่องนี้ แต่ขอให้คิดให้ดีปัญหาต่าง ๆ เหล่านั้นสามารถแก้ไขได้ หากเราพิจารณาดูให้ดี ๆ ว่าถ้าเราใช้รถยนต์ทุก ๆ วัน ในระยะทางที่ไกลพอสมควร และรถเมล์ หรือรถสาธารณะต่าง ๆ ไม่ถึง แล้วมาคิดค่าใช้จ่ายในแต่ละวันว่าน้ำมันที่เราใช้อยู่วันละเท่าไร หากราคาไม่มากในแต่ละวันก็ยังอาจจะไม่ต้องติดก๊าซ แต่ถ้าหากคำนวณแล้วในแต่ละวันเราใช้เงินในจำนวนมากต่อวัน ต่อเดือนเป็นเท่าไร หากดูแล้วว่าไม่ไหวแน่ ๆ ตัดสินใจเลยครับติดตั๊งก๊าซ NGV ได้เลย
ส่วนปัญหาอื่น ๆ เราก็สามารถแก้ไขได้ หากว่าเราห่วงเรื่องความปลอดภัย เราก็ไปหาศูนย์ติดตั้งก๊าซ NGV ที่มีคุณภาพ ผ่านการรับรองแล้ว ก็เบาใจได้ ก็ไม่ต้องกังวลเรื่องความปลอดภ้ย ไม่ต้องกลัวการระเบิดอีกต่อไป สำหรับเรื่องสถานีบริการเติมก๊าซ NGV เราก็ต้องศึกษาว่าเราจะไปที่ไหนอย่างไร ก็ต้องศึกษาเส้นทางให้ดี วางแผนก่อนเดินทางครับ เท่านี้เราก็ไม่ต้องกังวลแล้ว เดินทางถึงที่หมายปลอดภัย แถมสตางค์เราก็อยู่ครบ
วันเสาร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2551
รถยนต์กับ LPG และ NGV
สวัสดีครับทุกท่าน ทุกวันนี้ปัญหาน้ำมันแพง การจราจรติดขัด ฝนตก ทำให้เราได้เกิดอาการหงุดหงิดกันอยู่เสมอ ถึงจะอย่างไรก็ตามก็ต้องยอมรับปัญหาเหล่านั้นเพราะหลีกเลี่ยงได้ลำบาก เพราะเราต้องใช้รถยนต์ในการดำเนินชีวิตตลอด ไม่ว่าจะไปทำงาน ขนส่งสินค้า คนส่งผู้โดยสาร หรืออะไรก็แล้วแต่ ล้วนแล้วแต่ใช้น้ำมันด้วยกันทั้งสิ้น
ฉะนั้นพลังงานทางเลือกจึงได้ถูกนำมาใช้ในการทดแทน ซึ่งปัจจุบันก็มีอยู่ก็คือ LPG และ NGV และอื่น ๆ อีก แต่ยังไม่ชัดเจนเท่าไรนัก ผมจึงอยากนำเสนอรถยนต์ที่ใช้พลังงานทางเลือกคือ ก๊าซ
เป็นเชื้อเพลิงปิโตรเลียมชนิดหนึ่ง เกิดจากการทับถมของสิ่งมีชีวิตนับล้านปี
เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอน ประกอบด้วยก๊าซมีเทนเป็นหลัก
ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ปราศจากพิษ (ส่วนมากกลิ่นที่เราคุ้นเคยจากก๊าซธรรมชาติเป็นผล มาจากการเติมสารเคมีบางประเภทลงไป เพื่อให้ผู้ใช้รู้ได้ทันท่วงทีเมื่อเกิดเหตุการณ์ ก๊าซรั่ว)
เบากว่าอากาศ (ความถ่วงจำเพาะ 0.5-0.8 เท่าของอากาศ)
ติดไฟได้ โดยมีช่วงของการติดไฟที่ 5-15% ของปริมาตรในอากาศ และอุณหภูมิที่สามารถติดไฟได้เองคือ 650 องศาเซลเซียส 2.2 คุณประโยชน์ของก๊าซธรรมชาติ
เป็นเชื้อเพลิงปิโตรเลียมที่นำมาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูง มีการเผาไหม้สมบูรณ์
ลดการสร้างก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อน
มีความปลอดภัยสูงในการใช้งาน เนื่องจากเบากว่าอากาศ จึงลอยขึ้นเมื่อเกิดการรั่ว
มีราคาถูกกว่าเชื้อเพลิงปิโตรเลียมอื่นๆ เช่น น้ำมัน น้ำมันเตา และก๊าซปิโตรเลียมเหลว
สามารถสร้างมูลค่าเพิ่ม ช่วยขับเคลื่อนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ
ก๊าซธรรมชาติส่วนใหญ่ที่ใช้ในประเทศไทยผลิตได้เองจากแหล่งในประเทศ จึงช่วยลดการนำเข้าพลังงานเชื้อเพลิงอื่นๆ และประหยัดเงินตราต่างประเทศได้มาก3. ประโยชน์ของก๊าซธรรมชาติ สามารถใช้ประโยชน์จากก๊าซธรรมชาติได้ใน 2 ลักษณะใหญ่ๆ คือ 3.1 ใช้เป็นเชื้อเพลิง เราสามารถใช้ก๊าซธรรมชาติได้โดยตรง ด้วยการใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับผลิตกระแสไฟฟ้า หรือในโรงงานอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมเซรามิค อุตสาหกรรมสุขภัณฑ์ ฯลฯ และเมื่อนำไปอัดใส่ถังด้วยความดันสูงก็สามารถนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถยนต์ได้ (NGV)3.2 นำไปผ่านกระบวนการแยกในโรงแยกก๊าซ เพราะในตัวเนื้อก๊าซธรรมชาติ มีสารประกอบที่เป็นประโยชน์อยู่มากมาย เมื่อนำมาผ่านกระบวนการแยกที่โรงแยกก๊าซแล้ว ก็จะได้ผลิตภัณฑ์ต่างๆ มาใช้ประโยชน์ได้ดังนี้
ก๊าซมีเทน (C1) : ใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับผลิตกระแสไฟฟ้า ในโรงงานอุตสาหกรรม และนำไปอัดใส่ถังด้วยความดันสูง เรียกว่า ก๊าซธรรมชาติอัด สามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงในรถยนต์
ก๊าซอีเทน (C2) และก๊าซโพรเพน (C3) : ใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นต้น สามารถนำไปใช้ผลิตเม็ดพลาสติก เส้นใยพลาสติกชนิดต่างๆ เพื่อนำไปใช้แปรรูปต่อไป
ก๊าซโพรเพน (C3) และก๊าซบิวเทน (C4) : นำเอาก๊าซโพรเพนกับก๊าซบิวเทนมาผสมกัน อัดใส่ถังเป็นก๊าซปิโตรเลียมเหลว (Liquefied Petroleum Gas - LPG) หรือที่เรียกว่า ก๊าซหุงต้ม สามารถนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงในครัวเรือน และใช้ในการเชื่อมโลหะได้ รวมทั้งยังนำไปใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมบางประเภทได้อีกด้วย
ไฮโดรคาร์บอนเหลว (Heavier Hydrocarbon) : อยู่ในสถานะที่เป็นของเหลวที่อุณหภูมิ และความดันบรรยากาศ เมื่อผลิตขึ้นมาถึงปากบ่อบนแท่นผลิต สามารถแยกจากไฮโดรคาร์บอนที่มีสถานะเป็นก๊าซบนแท่นผลิต เรียกว่า คอนเดนเสท (Condensate) สามารถลำเลียงขนส่งโดยทางเรือหรือทางท่อ นำไปกลั่นเป็นน้ำมันสำเร็จรูปต่อไป
ฉะนั้นพลังงานทางเลือกจึงได้ถูกนำมาใช้ในการทดแทน ซึ่งปัจจุบันก็มีอยู่ก็คือ LPG และ NGV และอื่น ๆ อีก แต่ยังไม่ชัดเจนเท่าไรนัก ผมจึงอยากนำเสนอรถยนต์ที่ใช้พลังงานทางเลือกคือ ก๊าซ
ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ หรือภาษาอังกฤษเรียกว่า Natural Gas for Vehicles หรือเรียกย่อๆ ว่า NGV โดยอาจจะรู้จักกันในชื่อของ ก๊าซธรรมชาติอัด (Compressed Natural Gas : CNG) นับเป็นเชื้อเพลิงชนิดหนึ่งที่นำมาใช้ในยานยนต์ ซึ่งก็เหมือนกับก๊าซธรรมชาติที่นำมาใช้ตามบ้าน เพื่อการประกอบอาหาร การทำความร้อน และการทำน้ำร้อน เป็นต้น
ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ หรือ NGV ได้มีการนำมาใช้กับยานยนต์ในหลายๆ ประเทศ เกือบทั่วทุกภูมิภาคของโลก แต่อัตราการเพิ่มยังไม่มากนัก เมื่อเทียบกับยานยนต์ที่ใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิง ทั้งนี้ เนื่องจากยานยนต์ที่ใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิงได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีมานานกว่า อย่างไรก็ตาม เมื่อเกิดวิกฤตการณ์น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติจึงเป็นทางเลือกเชื้อเพลิงหนึ่ง เพื่อทดแทนการใช้น้ำมัน ประกอบกับก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงที่มีการเผาไหม้ที่สะอาด จึงได้มีการนำมาใช้อย่างแพร่หลายมากขึ้น เพื่อลดปัญหาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมนับจากปี 2527 ที่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) ได้เริ่มศึกษาและทดลองนำ NGV มาใช้ในรถยนต์ เนื่องจากพิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นเชื้อเพลิงที่มีการเผาไหม้ได้อย่างสมบูรณ์ และปล่อยมลพิษสู่บรรยากาศต่ำสุด เมื่อเทียบกับการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงอื่นต่อมาในปี 2536 ได้ร่วมกับ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ขยายการใช้ NGV ไปสู่รถโดยสารปรับอากาศที่เป็นรถขนส่งมวลชนสาธารณะ เพื่อให้บริการแก่ประชาชนทั่วไป ส่งผลให้ NGV เริ่มเป็นที่รู้จักต่อสาธารณชนมากขึ้นและภายหลังจากที่ ปตท. ได้จัดตั้งโครงการก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ เพื่อส่งเสริมและผลักดันให้มีการใช้ NGV เมื่อปี 2543 ส่งผลให้ประเทศไทยมีรถยนต์ที่ปรับเปลี่ยนมาใช้ NGV มากขึ้น โดยมีแนวโน้มตัวเลขที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต เพราะเป็นที่ทราบกันดีว่า NGV เป็นเชื้อเพลิงที่มีความเหมาะสมและสามารถใช้ได้กับรถยนต์ทุกประเภท
ก๊าซธรรมชาติเป็นพลังงานปิโตรเลียมชนิดหนึ่ง เช่นเดียวกับน้ำมัน ที่จริงแล้ว น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหิน ก็คือซากพืชและซากสัตว์ที่ทับถมกันมานานหลายแสนหลายล้านปี และทับถมสะสมกันจนจมอยู่ใต้ดิน แล้วเปลี่ยนรูปเป็นสิ่งที่เรียกว่า ฟอสซิล ระหว่างนั้นก็มีการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติ จนซากพืชและซากสัตว์หรือฟอสซิลนั้นกลายเป็นน้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหินที่เรานำมาใช้ประโยชน์ได้ในที่สุด ในทางวิทยาศาสตร์ เรารู้กันดีว่า ต้นพืชและสัตว์ รวมทั้งคน ประกอบด้วยเซลล์เล็กๆ มากมาย เซลล์เหล่านี้ประกอบด้วยธาตุไฮโดรเจนและธาตุคาร์บอนเป็นหลัก เวลาซากสัตว์และซากพืชทับถมและเปลี่ยนรูปเป็นน้ำมันหรือก๊าซธรรมชาติหรือถ่านหิน พวกนี้จึงมีองค์ประกอบของสารไฮโดรคาร์บอนเป็นส่วนใหญ่ และเมื่อนำไฮโดรคาร์บอนเหล่านี้มาเผา จะให้พลังงานออกมาแบบเดียวกับที่เราเผาฟืน เพียงแต่เชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ หรือถ่านหิน ให้ความร้อนมากกว่า
1. องค์ประกอบของก๊าซธรรมชาติ ก๊าซธรรมชาติมีก๊าซหลายอย่างเป็นประกอบด้วยกัน มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า มีเทน (CH2) , อีเทน (C2H6) , โพรเพน (C3H8) , บิวเทน (C4H10) , ไนโตรเจน (N2) , คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ฯลฯ แต่โดยทั่วไปจะประกอบด้วยก๊าซมีเทนเป็นส่วนใหญ่ คือ ร้อยละ 70 ขึ้นไป ก๊าซพวกนี้เป็นสารไฮโดรคาร์บอน เมื่อจะนำมาใช้ ต้องแยกก๊าซออกจากกันเสียก่อน จึงจะใช้ประโยชน์ได้เต็มที่ นอกจากสารไฮโดรคาร์บอนแล้ว ก๊าซธรรมชาติยังอาจประกอบด้วยก๊าซอื่นๆ อาทิ คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) , ไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H2S) , ไนโตรเจน (N2) และน้ำ (H2O) เป็นต้น สารประกอบเหล่านี้สามารถแยกออกจากกันได้ โดยนำมาผ่านกระบวนการแยกที่โรงแยกก๊าซธรรมชาติ ซึ่งก๊าซที่ได้แต่ละตัวนำไปใช้ประโยชน์ต่อเนื่องได้อีกมากมาย 2. ข้อดีของการใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง2.1 คุณสมบัติทั่วไปของก๊าซธรรมชาติ
เป็นเชื้อเพลิงปิโตรเลียมชนิดหนึ่ง เกิดจากการทับถมของสิ่งมีชีวิตนับล้านปี
เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอน ประกอบด้วยก๊าซมีเทนเป็นหลัก
ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ปราศจากพิษ (ส่วนมากกลิ่นที่เราคุ้นเคยจากก๊าซธรรมชาติเป็นผล มาจากการเติมสารเคมีบางประเภทลงไป เพื่อให้ผู้ใช้รู้ได้ทันท่วงทีเมื่อเกิดเหตุการณ์ ก๊าซรั่ว)
เบากว่าอากาศ (ความถ่วงจำเพาะ 0.5-0.8 เท่าของอากาศ)
ติดไฟได้ โดยมีช่วงของการติดไฟที่ 5-15% ของปริมาตรในอากาศ และอุณหภูมิที่สามารถติดไฟได้เองคือ 650 องศาเซลเซียส 2.2 คุณประโยชน์ของก๊าซธรรมชาติ
เป็นเชื้อเพลิงปิโตรเลียมที่นำมาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูง มีการเผาไหม้สมบูรณ์
ลดการสร้างก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อน
มีความปลอดภัยสูงในการใช้งาน เนื่องจากเบากว่าอากาศ จึงลอยขึ้นเมื่อเกิดการรั่ว
มีราคาถูกกว่าเชื้อเพลิงปิโตรเลียมอื่นๆ เช่น น้ำมัน น้ำมันเตา และก๊าซปิโตรเลียมเหลว
สามารถสร้างมูลค่าเพิ่ม ช่วยขับเคลื่อนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ
ก๊าซธรรมชาติส่วนใหญ่ที่ใช้ในประเทศไทยผลิตได้เองจากแหล่งในประเทศ จึงช่วยลดการนำเข้าพลังงานเชื้อเพลิงอื่นๆ และประหยัดเงินตราต่างประเทศได้มาก3. ประโยชน์ของก๊าซธรรมชาติ สามารถใช้ประโยชน์จากก๊าซธรรมชาติได้ใน 2 ลักษณะใหญ่ๆ คือ 3.1 ใช้เป็นเชื้อเพลิง เราสามารถใช้ก๊าซธรรมชาติได้โดยตรง ด้วยการใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับผลิตกระแสไฟฟ้า หรือในโรงงานอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมเซรามิค อุตสาหกรรมสุขภัณฑ์ ฯลฯ และเมื่อนำไปอัดใส่ถังด้วยความดันสูงก็สามารถนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถยนต์ได้ (NGV)3.2 นำไปผ่านกระบวนการแยกในโรงแยกก๊าซ เพราะในตัวเนื้อก๊าซธรรมชาติ มีสารประกอบที่เป็นประโยชน์อยู่มากมาย เมื่อนำมาผ่านกระบวนการแยกที่โรงแยกก๊าซแล้ว ก็จะได้ผลิตภัณฑ์ต่างๆ มาใช้ประโยชน์ได้ดังนี้
ก๊าซมีเทน (C1) : ใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับผลิตกระแสไฟฟ้า ในโรงงานอุตสาหกรรม และนำไปอัดใส่ถังด้วยความดันสูง เรียกว่า ก๊าซธรรมชาติอัด สามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงในรถยนต์
ก๊าซอีเทน (C2) และก๊าซโพรเพน (C3) : ใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นต้น สามารถนำไปใช้ผลิตเม็ดพลาสติก เส้นใยพลาสติกชนิดต่างๆ เพื่อนำไปใช้แปรรูปต่อไป
ก๊าซโพรเพน (C3) และก๊าซบิวเทน (C4) : นำเอาก๊าซโพรเพนกับก๊าซบิวเทนมาผสมกัน อัดใส่ถังเป็นก๊าซปิโตรเลียมเหลว (Liquefied Petroleum Gas - LPG) หรือที่เรียกว่า ก๊าซหุงต้ม สามารถนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงในครัวเรือน และใช้ในการเชื่อมโลหะได้ รวมทั้งยังนำไปใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมบางประเภทได้อีกด้วย
ไฮโดรคาร์บอนเหลว (Heavier Hydrocarbon) : อยู่ในสถานะที่เป็นของเหลวที่อุณหภูมิ และความดันบรรยากาศ เมื่อผลิตขึ้นมาถึงปากบ่อบนแท่นผลิต สามารถแยกจากไฮโดรคาร์บอนที่มีสถานะเป็นก๊าซบนแท่นผลิต เรียกว่า คอนเดนเสท (Condensate) สามารถลำเลียงขนส่งโดยทางเรือหรือทางท่อ นำไปกลั่นเป็นน้ำมันสำเร็จรูปต่อไป
ข้อมูลจาก PTT
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)